วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง ร่างกายของเรา

1.1 ความสำคัญและหลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย ได้แก่ รักษาอนามัยส่วนตัว บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม   ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ   ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด ตรวจเช็คร่างกาย
1.2 ระบบประสาท
                ระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน
                1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาท
1. ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
                สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาท สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
1.     สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย
- ซีรีบรัม มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ไหวพริบ การทำงานของกล้ามเนื้อ การสัมผัส
- ทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทรับความรู้สึก
- ไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด
                2. สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
                3. สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย
- ซีรีบเลลัม ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวของร่ายกาย
- พอนด์ ทำหน้าที่ควบคุมการเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
- เมดัลลา อบบลองกาตา ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาทอัตโนวัติ
สมองส่วนกลาง พอนด์ และ เมดัลลา อบบลองกาตา สมองทั้ง 3 ส่วนรวมกันเรียกว่า ก้านสมอง
                ไขสันหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสมองไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้นและมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มสมอง ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายไปยังสมองและรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย
2.ระบบประสาทส่วนปลาย ทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะปฏิบัติงานประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง 12 คู่ เส้นประสาทไขสันหลัง 31คู่ และประสาทระบบอัตโนวัติควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจของจิตใจ เช่น การเต้นของหัวใจ
                1.2.2 การทำงานของระบบประสาท จะทำงานประสานกับระบบกล้ามเนื้อ
                1.2.3 การบำรุงรักษาระบบประสาท ได้แก่ ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศรีษะ หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆที่มีผลต่อสมอง พยายามผ่อนคลายความเครียด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
1.3 ระบบสืบพันธ์
                1.3.1 อวัยวะสืบพันธ์เพศชาย
1. อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ ควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย
2. ถุงหุ้มอันฑะ ทำหน้าทีควบคุมอุณภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังหลอดนำตัวอสุจิ
4. หลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรักโทส
6. ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ
7. ต่อมคาวเปอร์ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นเพศ
            อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง
1. รังไข่ ทำหน้าที่ ผลิตไข่ โดยปกติไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบ เรียกว่า การตกไข่ ตลอดชีวิตจะมีการผลิตไข่ประมาณ 400 ใบ รังไข่ยังทำหน้าที่ สร้างฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโทรเจน ทหน้าที่ ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก และโพรเจสเทอโรน ทำงานร่วมกับเอสโทรเจนในการควบคุมการเจริญของมดลูก
2. ท่อนำไข่ หรือ ปีกมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก
3. มดลูก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4. ช่องคลอด ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก
                การตกไข่ คือ การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน
                การมีประจำเดือน เกิดจากผนังมดลูกลอกตัวเมื่อไข่ได้รับการผสม
            การบำรุงรักษาระบบสืบพันธ์ ได้แก่ ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่สม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำความสะอาดร่างกาย  ไม่สำส่อนทางเพศ
1.4ระบบต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท
          1.4.1 ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
1. ต่อมใต้สมอง ประกอบด้วย ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และ ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก นอกจากนี้ยังควบคุมการทำงานของ ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ต่อมพาราไทรอยด์
2. ต่อมหมวกไต มี 2 ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลีน ส่วนชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร
3. ต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมน ไทรอกซิน
4. ต่อมพาราไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือด
5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย
6. ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
                1.4.2 การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ รับประทานให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ อกกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ พักผ่อนให้เพียงพอ