วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาออกกำลังกายกันเถอะ
 


       คนเราจะมีชีวิตอยู่และร่างกายแข็งแรง ถ้าได้หายใจเอาอากาศที่บริสุทธิ์ได้กินอาหารพักผ่อน และออกกำลังกาย กีฬาเป ็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งเป็นการเล่นอย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์ ผู้เล่นกีฬาจะต้องศึกษากติกา หมั่นฝึกซ้อม และปฎิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพ ของตนและสิ่งแวดล้อม


กีฬามี 2 ประเภท คือ กีฬาเพื่อแข่งขันกับกีฬาเพื่อสุขภาพ การเล่นกีฬาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง
เพราะการเล่นกำฬาเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยรักษาสภาพร่างกายมิให้เสื่อมโทรม
 ช่วยแก้ไขส่วนที่เสื่อมโทรมให้เป็นปกติ และป้องกันการเกิดโรคบางอย่าง


เมื่อเราออกกำลังกาย ร่างกายของเราจะเกิดปฎิกิริยาขึ้นในกล้ามเนื้อ หัวใจและหลอดเลือด ปอดและการหายใจ ระบบประสาท ระบบอวัยวะอื่น ๆ และส่วนอื่น ๆ เช่น กระดูก สีเม็ดเลือด ต่อมน้ำเลี้ยงภายใน และการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย


การออกกำลังกาย ร่างกายของเราจะเกิดปฎิกิริยาขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด ปอด
 และการหายใจ ระบบประสาท ระบบอวัยวะอื่นๆ และส่วนอื่นๆ เช่น กระดูก สีเม็ดเลือด
ต่อมน้ำเลี้ยงภายใน และการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย


การออกกำลังกายที่ทำให้สุขภาพดีนั้นต้องออกกำลังแต่พอเหมาะ เราต้องสังเกตอาการเมื่อย อาการเหนื่อย อัตราชีพจร และผลที่จะเกิดขึ้นภายหลัง หากเราหักโหมออกกำลังกายมากเกินไป ร่างกายปรับตัวและเพิ่มสมรรถภาพไม่ได้ก็จะเกิดผลเสีย ถ้าออกกำล ังน้อยเกินไปก็จะไม่ไ ด้ผลดีตามที่ต้องการ


เราควรงดการออกกำลังกายเมื่อรู้สึกไม่สบาย เป็นไข้ มีอาการอักเสบ หรือเมื่อกินอาหารอิ่ม ใหม่ ๆ
 และเมื่ออากาศร้อนอบอ้าว ส่วนคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ โรคปอด
และโรคความดันโลหิตสูง ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ


เราควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย เด็กวัย 7-12 ปี ควรเล่นกีฬาที่เหมาะกับสภาพของสมองและร่างกาย ไม่เล่นหนักเกินไป และต้ องแน่ใจว่าได้รับประทานอาหารและพักผ่อนเพียงพอ


เด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ควรเล่นกีฬาคนละแบบ
เด็กหญิงเล่นกีฬาเพื่อส่งเสริมทรวดทรงให้งดงาม ส่วนเด็กชายเล่นกีฬาได้เหมือนผู้ใหญ่
 แต่ต้องลดความหนักและความรุนแรงลงบ้าง


คนวัยหนุ่มสาวที่มีอายุ 18-25 ปี มีสมรรถภาพทางกายดีที่สุด จะออกกำลังกายด้วยวิธีใดก็ได้ แต่ต้องระวังไม่ให้หนั กมากเกินสมควร


เมื่อเรามีอายุ 26-35-40 ปีนับว่าเป็นผู้ใหญ่และมีวัยฉกรรจ์
ในระยะแรกร่างกายยังแข็งแกร่งสามารถเล่นกีฬาที่หนักและแข่งขันได้
 แต่ระยะหลังร่างกายเริ่มเสื่อม ต้องงดการเล่นกีฬาที่หนักมาก ๆ


เมื่อคนเราอายุย่างเข้า 40-55 ปี นับว่าเป็นผู้ใหญ่กลางคน วัยนี้มีกำลังสติปัญญาความคิดเจริญขึ้นสูงเต็มที่แต่กำลังกายและสมรรถภาพทางกายเริ่มลดลงเรื่อย ๆ บุคคลวัยนี้ไม่ควรออกกำลังหนักเกินไป


วัยสูงอายุได้แก่ผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการแข่งขัน
และการออกกำลังที่ออกแรงหนักอย่าง< WBR>กะทันหันและใช้ความเร็วสูง
แม้กระนั้นก็ยังจำเป็นต้องออกกำลังกายเพื่อ "ชะลอความชรา"


การเดินและกายบริหาร เป็นการออกกำลังที่เหมาะกับบุคคลทุกวัย การถีบจักรยานและกีฬาที่ใช้ลูกบอลนั้นเหมาะสำหรับคนวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว และวัยกลางคนแต่อาจหนักไปสำหรับคนชรา กีฬาบางประเภทที่ใช้เทคนิคความเร็วและกติกามาก เช่น เทนนิส ปิงปอง และแบดมินตัน เหมาะสำหรับวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว


ร่างกายจะมีสุขภาพดี ถ้าออกกำลังกายเหมาะสมกับวัยและกินอาหารถูกส่วน
"ออกกำลังวัยละสิบนาที อายุจะยืนไปอีกสิบปี"

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

                ภูมิปัญญาไทย


               ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ความสามารถของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ซึ่งได้ผ่านการเลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนาและสืบทอดต่อๆ กันมา เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตของคนไทย ส่งผลที่ให้มีชีวิตที่ดี มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและยุคสมัย

              ตัวอย่างภูมิปัญญา

*ด้านภาษา และวรรณกรรม ได้แก่ สุภาษิต คำพังเพย เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคำทายต่างๆ

*ด้านประเพณี ได้แก่ กิจกรรมที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ชุมชน โดยการแสดงออกทางประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านในท้องถิ่นต่างๆ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีวันลอยกระทง วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ การละเล่นพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น เช่น การระบำรำฟ้อนประเภทต่างๆ เซิ้ง กลองยาว เพลงอีแซว หมอลำ มโนราห์ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน

*ด้านศิลปวัตถุและศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ การทำเครื่องปั้นดินเผาไปแกะสลัก หนังตะลุง เป็นต้น

*ด้านการแต่งกาย ได้แก่ การทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะและความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น

*ด้านอาหาร ได้แก่ การจัดประดับตกแต่งอาหารให้มีความสวยงาม ด้วยการแกะสลักด้วยความประณีต การจัดเลี้ยงอาหารแบบขันโตกของทางเหนือ ด้านอาหารที่ขึ้นชื่อของไทย คือ ต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงเลียง ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวซอย ส้มตำ เป็นต้น

*ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน ได้แก่ การทำระหัดน้ำ การประดิษฐ์กระเดื่องสำหรับตำข้าว การทำเครื่องมือจับสัตว์ เช่น แห อวน ยอ เป็นต้น




 ความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน               
 ทุกชุมชนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งเอกลักษณ์ดังกล่าวได้ดำเนินขึ้นและสืบทอดโดยคนรุ่นก่อนในชุมชน มีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่าง และผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชน เช่น การแต่งกาย การรับประมานอาหาร การสร้างบ้านเรือน รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพและการบำบัดโรค วึ่งผ่านการลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน ตัวอย่างเช่น การรับประทานผักเพื่อบำรุงร่างกาย การรักษาโรคด้วยสุมนไพร การนาดไทยเพื่อบำบัด บรรเทาการเจ็บป่วย การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือการอยูไฟเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของผู้หญิงหลังคลอดบุตร เป็นต้น
                ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องอขงกานบำบัด บรรเทา รักษาป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากภูมิปัญญาทางการแพทย์ของคนไทยจะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแล้วยังช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศชาติได้ โดยช่วยรัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดการนำเข้ายารักษาโรค เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์จากต่างประเทศที่เกินความจำเป็นให้ลดน้อยลง ซึ่งผลดีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อคนไทยในชุมชนหรือท้องถิ่นต่างๆ รู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรักษาดูแลสุขภาพ รวมถึงการพึ่งพาภูมมิปัญญาของแพทย์ที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด



 แนวทางการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
การแพทย์แผนไทย              
                    การแพทย์แผนไทย (Thai traditional medicine) หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมแบะฟื้นฟูสภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา (พระราชบัญญัติคุ่มครองและส่งผลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542)
การแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชนที่นักเรียน

สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตนเองได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้              
                      1.การนวดไทย เป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าในการรักษาโรค การสร้างเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจของคนไทย ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจัดเป็นวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยที่แสดงถึงการดูแลสุขภาพกันภายในครอบรัวเช่น ภรรยานวดให้สามี ลูกนวดให้ปู่ย่าตายาย โดยอวัยวะต่างๆ เช่น ศอก เข่า เท้า นวดให้กัน อีกทั้งยังมีการพัฒนาโดยใช้อุปกรณ์ช่วยในการนวด เช่น ไม้กดท้อง นมสาว การนวดไทย แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ การนวดแบบราชสำนัก และการนวดแบบเชลยศักดิ์ ประโยชน์ของการนวดไทยมีผลดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน เช่น การกระตุ้นระบบประสาท เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และผ่อนคลายความตึงเครียดทางจิตใจ
                2.การประคบสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาทางด้านการแพทย์แผนไทยที่มีการสืบทอดจากบรรพบุรุษมาช้านาน โดยมีการใช้สมุนไพรห่อด้วยผ้าเป็นลูก เรียกว่า ลูกประคบ นำลูกประคบไปนึ่งให้ร้อนแล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย เคล็ด ขัดยอก จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบส่วนใหญ่นั้นจะมันน้ำมันหอมระเหย เมื่อนึ่งให้ร้อนแล้วแล้วน้ำมันหอมระเหยซึ่งเป็นตัวยาจะออกมากับไอน้ำและความชื้น และเมื่อประคบตัวยาเหล่านั้นจะซึมเข้าผิวหนัง ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัดยอก ลดอาการบวมอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ นอกจากนี้ความร้อนจากลูกประคบยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น อีกทั้งกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยยังช่วยให้คลายเครียด เกิดความสดชื่นอีกด้วย
                3. น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารและน้ำดื่มนอกจากจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติมโตแข็งแรงอยูในภาวะปกติแล้ว อาหารและน้ำสมุนไพรบางชนิดที่นิยมรักประทานกันอยู่ในปัจจุบันยังช่วยรักษาโรคและอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้อีกตัว ซึงเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ ที่ได้คิดปรุงแต่งอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าบำรุงร่างกาย โดยผ่านการผสมผสานองค์ความรู้ต่างๆ เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยได้อย่างกลมกลืน เช่น น้ำขิงช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ น้ำใบบัวบกแก้ร้อนใน กระหายน้ำ น้ำมะพร้าวช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ ทำให้สดชื่น ส่วนผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพรไทยที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องแกงในอาหารไทยมีสรรพคุณในการบำรุงรักษาร่างกายได้อย่างดี เช่น ในโหระพารสเผ็ดร้อนแก้เป็นลม วิงเวียน ตะไคร้แก้ปวดท้อง ลดความดันเลือด มะนาวมีรสเปรี้ยวป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันฟักทองมีเบต้าแคโรทีนสูงช่วยบำรุงร่างกาย และมะขามใช้เป็นยาระบาย แก้โรคบิด เป็นต้น
                4.การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิตและความเชื่อ ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของชาวไทยที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมา จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสุขภาพทางใจ เพราะการทำสมาธิสวดมนต์และภาวนาช่วยให้จิตใจที่สับสนและว่าวุ้นเกิดความสงบ มีความสุข ผ่อนคลายความเครียดมีสมาธิและเกิดปัญญา ในปัจจุบันมีการวิจัยทางการแพทย์พบว่า การสวดมนต์ ภาวนา และการทำสมาธิช่วยให้หัวใจทำงานหนักน้อยลง ส่งผลดีต่อปอด ระบบการหายใจ นอกจากนี้การนั่งสมาธินานๆ จะคลายความวิตกกังวล ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างแท้จริง
                5.กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยเกิดขึ้นจากการสิบทอดบอกเล่าต่อ ๆ กันมาของนักบวช นักพรต พระสงฆ์ หรือชาวพุทธที่นิยมนั่งสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งมีความแตกต่างกับท่าโยคะของอินเดีย โดยเป็นท่าที่ไม่ผาดโผน หรือฝืนร่างกายจนเกินไป บุคคลทั่วไปสามารถทำได้ และเมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ช่วยให้การเคลื่อนไหวของแขน ขา หรือข้อต่อต่างๆ เป็นไปอย่างคล่องแคล่ว ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ ผ่อนคลายความเครียด และเพิ่มประสิทธิภาพของการหายใจ