วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ



พฤติกรรมสุขภาพกับการเกิดโรค
              เพื่อมีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ และการเกิดโรค นักเรียนควรศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
           ความหมายของโรคและพฤติกรรมสุขภาพ              โรค หมายถึง ความไม่สบายหรือการเกิดภาวะปกติขึ้นในร่างกาย โดยแสดงอาการผิดปกติหรือมีอาการเจ็บป่วยออกมาให้เห็น เช่น เป็นไข้ อ่อนเพลีย อาเจียน อุจจาระร่วง ปวดศีรษะ ซึ่งอาการที่ปรากฏนั้นอาจจะเป็นอยู่ระยะหนึ่งแล้วหาย หรือกลับมาเป็นซ้ำอีกก็ได้ หรืออาจแสดงอาการอยู่ตลอดไป จนอาจส่งผลทำให้อวัยวะของร่างกายเกิดความพิการ ทุพพลภาพ หรืออาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
              พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติของบุคคลที่มีผลต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว หรือชุมชน โดยแสดงออกให้เห็นใน 2 ลักษณะ จากการปฏิบัติให้เกิดผลดีหรือที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เป็นการปฏิบัติทีส่งผลดีต่อสุขภาพและถือว่าเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่วนพฤติกรรมการเสพสารเสพติด การสูบบุหรี่ การขับรถโดยประมาท เป็นการปฏิบัติที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและเป็นโรค ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี
            ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพดับการเกิดโรค              การเกิดโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์เกิดได้หลากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส เอชไอวี (HIV: Kuman Immunodeficiency Virus)ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ เชื่อบัคเตรี วิบริโอ คอเลอรา (vibrio cholera) เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอหิว่าตกโรค หรือเชื้อบัคเตรี ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (mycobacterium tuberculosis) เป็นสาเหตุของการเกิดโรควัณโรค รวมทั้งเชื้อราหรือปรสิตชนิดอื่นๆ ทั้งหมดทีส่งผลต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคของมนุษย์
              นอกจากการเจ็บป่วยหรือเกิดโรคเพราะตัวเชื้อโรคแล้ว มนุษย์ยังเจ็บป่วยหรือเกิดโรคได้เพราะพฤติกรรมการดำรงชีวิตของตนเอง ทั้งในเรื่องของการทำงาน การบริโภค การพักผ่อน การมีเพศสัมพันธ์ การดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย การเดินทาง หรือการติดต่อกับสังคม ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพโดยตรง หรืออาจจะกล่าวได้ว่าพฤติกรรมสุขภาพเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการเกิดโรคและการเจ็บป่วยของบุคคล อีกทั้งสามารถใช้ทำนายแนวโน้มของความเสียงต่อการเกิดโรคและการเจ็บป่วยของบุคคลล่วงหน้าได้ เช่น บุคคลที่มีพฤติกรรมการดื่มสุราเป็นประจำมักมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคตับแข็ง โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร หรือถ้าขับรถก็อาจจะได้รับอุบัติเหตุได้ และผู้ที่นิยมบริโภคอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาจป่วยเป็นโรคพยาธิ หรือการมีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศอาจได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น และในทางกลับกันบุคคลที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพ ย่อมมีสุขภาพอนามัยที่ดีไม่เจ็บป่วยง่าย ลดปัญหาการเกิดโรคอันเนื่องมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่ดีของตนเองให้ลดน้อยลง อีกทั้งการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่งด้วย


โรคและการเจ็บป่วยที่แบ่งตามลักษณะของพฤติกรรมสุขภาพ               พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมของบุคคล ส่งผลทำให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสามารถแบ่งชนิดของโรคและการเจ็บป่วยตามลักษณะของพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญ ดังนี้
              1. โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขวิทยาส่วนบุคคลพฤติกรรมสุขวิทยาบุคคล หมายถึง การปฏิบัติหรือการแสดงออกของบุคคลที่ส่งผลให้มีสุขภาพดี เช่น การดูแลรักษาร่างกาย และของใช้ให้สะอาด การดูแลรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรง การล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย ถ้าบุคคลขาดการดูแลเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ถูกต้องก็จะทำให้เกิดโรค และความเจ็บป่วยต่าง ๆ ขึ้นเป็นต้นว่า โรคผิวหนัง มักมีสาเหตุมาจากการไม่รักษาความสะอาดร่างกาย โรคเหงือกและฟันเนื่องจากขาดพฤติกรรมการรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรง โรคติดเชื้อของทางเดินอาหาร มักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการหยิบจับอาหารรับประทานโดยไม่ได้ล้างมือให้สะอาด เป็นต้น
              2. โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคและการโภชนาการพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการโภชนาการ ประกอบด้วย การเลือกบริโภคอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยจากสารอันตราย ได้รับสารอาหารครบถ้วน 5หมู่ อย่างหลากหลาย และมีความพอดีกับความต้องากรของร่างกาย รวมถึงการมีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารตรงเวลา หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและอาหารหมักดอง เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคคลดังกล่าวนั้น มีผลต่อสุขภาพและการเกิดโรค หรือความเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น การรับประทานอาหารในปริมาณที่น้อยเกิดไป หรือขาดสารอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกายบางชนิด อาจทำให้เกิดโรคขาดสารอาหาร โรคคอพอก เนื่องจากขาดแร่ธาตุไอโอดีน หรือ โรคปากนกกระจอก เนื่องจากขาดวิตามินบี 2 ได้ นอกจากนี้พฤติกรรมที่ไม่ดีในการรับประทานอาหารอื่น ๆ เช่น การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือรับประทานอาหารที่มีรสจัดเป็นประจำ ก็อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและโรคลำไส้ หรือการเคี้ยวอาหารมาละเอียดส่งผลให้อาหารไม่ย่อย เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้
              3.โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านสารเสพติด เพศสัมพันธ์ และปัญหาทางสังคม              พฤติกรรมด้านสารเสพติด เพศสัมพันธ์ และปัญหาทางสังคม คือ การกระทำที่แสดงออกในเรื่องของการงดดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ ไม่เสพสารเสพติด หลีกเลี่ยงการพนัน และอบายมุขต่าง ๆ รวมทั้งการมาสำส่อนทางเพศ และการมีค่านิยมรักเดียวใจเดียว ซึ่งหากมีพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องดังกล่าวที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อการเกิดโรคและความเจ็บป่วย ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมโดยตรง เช่น บุคคลที่มีพฤติกรรมเสพสารเสพติดย่อมเจ็บป่วยง่าย ร่างกายทรุดโทรม เกิดความเครียดในครอบครัว หรืออาจสร้างปัญหาความรุนแรงในสังคม และถ้าบุคคลมีพฤติกรรมไม่ปลอดภัยทางเพศ อาจติดโรคทางเพศต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะโรคเอดส์ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนในโลกเป็นจำนวนมาก
              4. โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านสุขภาพจิต              พฤติกรรมด้านสุขภาพจิต คือ พฤติกรรมการสร้างอารมณ์และจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใสอยู่เสมอ และพฤติกรรมการสร้างสัมพันธภาพให้เกิดขึ้นในครอบครัว ซึ่งหากบุคคลและครอบครัวขาดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในเรื่องการจัดการกับอารมณ์และความเครียดที่เหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้เกิดโรคและความเจ็บป่วยทางจิตใจอันเนื่องมาจากความเครียดได้ เช่น การเกิดโรคซึมเศร้า โรคจิต โรคประสาท มีอาการวิตกกังวล ซึ่งบั่นทอนสุขภาพร่างกายให้เจ็บป่วยโดยง่าย
              5. โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านความปลอดภัย              พฤติกรรมด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย การมีพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย ทั้งภายในบ้านในสถานที่ทำงาน ในโรงเรียน ในชุมชน หรือบนท้องถนน ถ้าบุคคลขาดพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยต่าง ๆ แล้ว ก็อาจให้ถูกไฟฟ้าดูดหรือเกิดอัคคีภัย หรือการขับขี่ยานพาหนะด้วยความเร็วสูง ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ส่งผงให้ร่างกายบาดเจ็บหรือทุพพลภาพ
              6. โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายและการตรวจสุขภาพประจำปี               พฤติกรรมการออกกำลังกายและการตรวจสุขภาพประจำปี คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพดังนั้น ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมขาดการออกกำลังกายก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคความดันเลือดสูง โรคกระดูกพรุน หรือรวมทั้งโรคมะเร็ง และถ้ามีพฤติกรรมละเลยการตรวจสุขภาพประจำปีอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรค ซึ่งยากต่อการรักษาให้หายเป็นปกติได้อย่างทันท่วงที
              7. โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อม              พฤติกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อม ในที่นี้จะหมายถึง การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในครอบครัวและชุมชน ได้แก่ การจัดการเรื่องขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การจัดบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ร่มรื่นน่าอยู่อาศัย มีความปลอดภัย ถ้าบุคคลขาดการดูแลสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเองให้ถูกสุขลักษณะแล้ว ย่อมทำให้เจ็บป่วยและเป็นโรคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคติดต่อที่เกิดจากการมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคเลปโตสไปโรซีส (โรคฉี่หนู) เป็นต้น



 การป้องกันโรคและอันตรายที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ               การมีสุขภาพอนามัยที่ดี ไม่เจ็บป่วยหรือเกิดโรคอันเนื่องมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม นักเรียนสามารถป้องกันโรคและอันตรายที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพโดยยึดหลักการดูแลสุขภาพตามสุขบัญญัติ แห่งชาติ 10 ประการ หรือหลักการสร้างเสริมสุขภาพด้วยหลักการ 6 อ. ซึ่งนักเรียนเคยศึกษาผ่านมาก็ได้ หรืออาจนำวิธีการต่อไปนี้ไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพดังนี้
              1. รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลอยู่เสมอ ได้แก่ ทำความสะอาดร่างกายและของใช้ให้สะอาดดูแลรักษาฟันและเหงือกให้สะอาด แข็งแรง มีสุขภาพดี รวมถึงล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่ายทุกครั้ง ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาทุกวัน และใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น และให้ความอบอุ่นเพียงพอ
              2. บริโภคอาหารสุก สะอาด ปลอดภัย และครบถ้วน 5 หมู่ อย่างหลากหลาย และเพียงพอกับความต้องการของร่างกายตามวัย นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจมีสารอันตรายเจือปน เช่น ไส้กรอกหรือกุนเชียงใส่สี ถั่วงอกหรือขิงซอยที่มีสีขาวผิดธรรมชาติ ซึ่งอาจมีสารฟอกขาวที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่
              3. ออกกำลังกายด้วยวิธีการที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เพื่อสร้างความแข็งแรงและภูมิต้านทานโรคแก่ร่างกาย เช่น การว่ายน้ำ การเต้นแอโรบิก การวิ่งเหยาะ หรือการเล่นกีฬาที่ถนัดและมีความสนใจ
              4. ควบคุมหรือจัดการอารมณ์และความเครียดที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น มองโลกในแง่ดี ทำงานอดิเรกที่ถนัดและมีความสนใจ หัวเราะและยิ้มแย้มอยู่เสมอ และไม่ควรยึดติดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากจนเกิดไป
              5.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การเสพสารเสพติด การสำส่อนทางเพศ และอบายมุขต่าง ๆ ที่ทำลายสุขภาพ หรือส่งผลทำให้เกิดโรคและการเจ็บป่วย
              6. ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและในชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัย ไม่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค หรือเป็นแหล่งเพราะเชื้อโรค ที่นำโรคและความเจ็บป่วยมาสู่คน
              7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อลดความเสี่ยง หรือลดความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้น และช่วยให้มีการดูแลรักษาโรคได้อย่างน้อยทันท่วงที

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาออกกำลังกายกันเถอะ
 


       คนเราจะมีชีวิตอยู่และร่างกายแข็งแรง ถ้าได้หายใจเอาอากาศที่บริสุทธิ์ได้กินอาหารพักผ่อน และออกกำลังกาย กีฬาเป ็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งเป็นการเล่นอย่างมีระเบียบกฎเกณฑ์ ผู้เล่นกีฬาจะต้องศึกษากติกา หมั่นฝึกซ้อม และปฎิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพ ของตนและสิ่งแวดล้อม


กีฬามี 2 ประเภท คือ กีฬาเพื่อแข่งขันกับกีฬาเพื่อสุขภาพ การเล่นกีฬาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง
เพราะการเล่นกำฬาเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยรักษาสภาพร่างกายมิให้เสื่อมโทรม
 ช่วยแก้ไขส่วนที่เสื่อมโทรมให้เป็นปกติ และป้องกันการเกิดโรคบางอย่าง


เมื่อเราออกกำลังกาย ร่างกายของเราจะเกิดปฎิกิริยาขึ้นในกล้ามเนื้อ หัวใจและหลอดเลือด ปอดและการหายใจ ระบบประสาท ระบบอวัยวะอื่น ๆ และส่วนอื่น ๆ เช่น กระดูก สีเม็ดเลือด ต่อมน้ำเลี้ยงภายใน และการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย


การออกกำลังกาย ร่างกายของเราจะเกิดปฎิกิริยาขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด ปอด
 และการหายใจ ระบบประสาท ระบบอวัยวะอื่นๆ และส่วนอื่นๆ เช่น กระดูก สีเม็ดเลือด
ต่อมน้ำเลี้ยงภายใน และการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย


การออกกำลังกายที่ทำให้สุขภาพดีนั้นต้องออกกำลังแต่พอเหมาะ เราต้องสังเกตอาการเมื่อย อาการเหนื่อย อัตราชีพจร และผลที่จะเกิดขึ้นภายหลัง หากเราหักโหมออกกำลังกายมากเกินไป ร่างกายปรับตัวและเพิ่มสมรรถภาพไม่ได้ก็จะเกิดผลเสีย ถ้าออกกำล ังน้อยเกินไปก็จะไม่ไ ด้ผลดีตามที่ต้องการ


เราควรงดการออกกำลังกายเมื่อรู้สึกไม่สบาย เป็นไข้ มีอาการอักเสบ หรือเมื่อกินอาหารอิ่ม ใหม่ ๆ
 และเมื่ออากาศร้อนอบอ้าว ส่วนคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ โรคปอด
และโรคความดันโลหิตสูง ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ


เราควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย เด็กวัย 7-12 ปี ควรเล่นกีฬาที่เหมาะกับสภาพของสมองและร่างกาย ไม่เล่นหนักเกินไป และต้ องแน่ใจว่าได้รับประทานอาหารและพักผ่อนเพียงพอ


เด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ควรเล่นกีฬาคนละแบบ
เด็กหญิงเล่นกีฬาเพื่อส่งเสริมทรวดทรงให้งดงาม ส่วนเด็กชายเล่นกีฬาได้เหมือนผู้ใหญ่
 แต่ต้องลดความหนักและความรุนแรงลงบ้าง


คนวัยหนุ่มสาวที่มีอายุ 18-25 ปี มีสมรรถภาพทางกายดีที่สุด จะออกกำลังกายด้วยวิธีใดก็ได้ แต่ต้องระวังไม่ให้หนั กมากเกินสมควร


เมื่อเรามีอายุ 26-35-40 ปีนับว่าเป็นผู้ใหญ่และมีวัยฉกรรจ์
ในระยะแรกร่างกายยังแข็งแกร่งสามารถเล่นกีฬาที่หนักและแข่งขันได้
 แต่ระยะหลังร่างกายเริ่มเสื่อม ต้องงดการเล่นกีฬาที่หนักมาก ๆ


เมื่อคนเราอายุย่างเข้า 40-55 ปี นับว่าเป็นผู้ใหญ่กลางคน วัยนี้มีกำลังสติปัญญาความคิดเจริญขึ้นสูงเต็มที่แต่กำลังกายและสมรรถภาพทางกายเริ่มลดลงเรื่อย ๆ บุคคลวัยนี้ไม่ควรออกกำลังหนักเกินไป


วัยสูงอายุได้แก่ผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการแข่งขัน
และการออกกำลังที่ออกแรงหนักอย่าง< WBR>กะทันหันและใช้ความเร็วสูง
แม้กระนั้นก็ยังจำเป็นต้องออกกำลังกายเพื่อ "ชะลอความชรา"


การเดินและกายบริหาร เป็นการออกกำลังที่เหมาะกับบุคคลทุกวัย การถีบจักรยานและกีฬาที่ใช้ลูกบอลนั้นเหมาะสำหรับคนวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว และวัยกลางคนแต่อาจหนักไปสำหรับคนชรา กีฬาบางประเภทที่ใช้เทคนิคความเร็วและกติกามาก เช่น เทนนิส ปิงปอง และแบดมินตัน เหมาะสำหรับวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว


ร่างกายจะมีสุขภาพดี ถ้าออกกำลังกายเหมาะสมกับวัยและกินอาหารถูกส่วน
"ออกกำลังวัยละสิบนาที อายุจะยืนไปอีกสิบปี"

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

                ภูมิปัญญาไทย


               ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ความสามารถของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ซึ่งได้ผ่านการเลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนาและสืบทอดต่อๆ กันมา เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตของคนไทย ส่งผลที่ให้มีชีวิตที่ดี มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและยุคสมัย

              ตัวอย่างภูมิปัญญา

*ด้านภาษา และวรรณกรรม ได้แก่ สุภาษิต คำพังเพย เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคำทายต่างๆ

*ด้านประเพณี ได้แก่ กิจกรรมที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ชุมชน โดยการแสดงออกทางประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านในท้องถิ่นต่างๆ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีวันลอยกระทง วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ การละเล่นพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น เช่น การระบำรำฟ้อนประเภทต่างๆ เซิ้ง กลองยาว เพลงอีแซว หมอลำ มโนราห์ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน

*ด้านศิลปวัตถุและศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ การทำเครื่องปั้นดินเผาไปแกะสลัก หนังตะลุง เป็นต้น

*ด้านการแต่งกาย ได้แก่ การทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะและความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น

*ด้านอาหาร ได้แก่ การจัดประดับตกแต่งอาหารให้มีความสวยงาม ด้วยการแกะสลักด้วยความประณีต การจัดเลี้ยงอาหารแบบขันโตกของทางเหนือ ด้านอาหารที่ขึ้นชื่อของไทย คือ ต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงเลียง ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวซอย ส้มตำ เป็นต้น

*ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน ได้แก่ การทำระหัดน้ำ การประดิษฐ์กระเดื่องสำหรับตำข้าว การทำเครื่องมือจับสัตว์ เช่น แห อวน ยอ เป็นต้น




 ความสำคัญของภูมิปัญญาไทยต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน               
 ทุกชุมชนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งเอกลักษณ์ดังกล่าวได้ดำเนินขึ้นและสืบทอดโดยคนรุ่นก่อนในชุมชน มีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่าง และผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชน เช่น การแต่งกาย การรับประมานอาหาร การสร้างบ้านเรือน รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพและการบำบัดโรค วึ่งผ่านการลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน ตัวอย่างเช่น การรับประทานผักเพื่อบำรุงร่างกาย การรักษาโรคด้วยสุมนไพร การนาดไทยเพื่อบำบัด บรรเทาการเจ็บป่วย การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือการอยูไฟเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของผู้หญิงหลังคลอดบุตร เป็นต้น
                ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องอขงกานบำบัด บรรเทา รักษาป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากภูมิปัญญาทางการแพทย์ของคนไทยจะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแล้วยังช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศชาติได้ โดยช่วยรัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดการนำเข้ายารักษาโรค เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์จากต่างประเทศที่เกินความจำเป็นให้ลดน้อยลง ซึ่งผลดีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อคนไทยในชุมชนหรือท้องถิ่นต่างๆ รู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรักษาดูแลสุขภาพ รวมถึงการพึ่งพาภูมมิปัญญาของแพทย์ที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด



 แนวทางการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
การแพทย์แผนไทย              
                    การแพทย์แผนไทย (Thai traditional medicine) หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมแบะฟื้นฟูสภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา (พระราชบัญญัติคุ่มครองและส่งผลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542)
การแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชนที่นักเรียน

สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตนเองได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้              
                      1.การนวดไทย เป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าในการรักษาโรค การสร้างเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจของคนไทย ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจัดเป็นวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยที่แสดงถึงการดูแลสุขภาพกันภายในครอบรัวเช่น ภรรยานวดให้สามี ลูกนวดให้ปู่ย่าตายาย โดยอวัยวะต่างๆ เช่น ศอก เข่า เท้า นวดให้กัน อีกทั้งยังมีการพัฒนาโดยใช้อุปกรณ์ช่วยในการนวด เช่น ไม้กดท้อง นมสาว การนวดไทย แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ การนวดแบบราชสำนัก และการนวดแบบเชลยศักดิ์ ประโยชน์ของการนวดไทยมีผลดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน เช่น การกระตุ้นระบบประสาท เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และผ่อนคลายความตึงเครียดทางจิตใจ
                2.การประคบสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาทางด้านการแพทย์แผนไทยที่มีการสืบทอดจากบรรพบุรุษมาช้านาน โดยมีการใช้สมุนไพรห่อด้วยผ้าเป็นลูก เรียกว่า ลูกประคบ นำลูกประคบไปนึ่งให้ร้อนแล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย เคล็ด ขัดยอก จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ทำลูกประคบส่วนใหญ่นั้นจะมันน้ำมันหอมระเหย เมื่อนึ่งให้ร้อนแล้วแล้วน้ำมันหอมระเหยซึ่งเป็นตัวยาจะออกมากับไอน้ำและความชื้น และเมื่อประคบตัวยาเหล่านั้นจะซึมเข้าผิวหนัง ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัดยอก ลดอาการบวมอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ นอกจากนี้ความร้อนจากลูกประคบยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น อีกทั้งกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยยังช่วยให้คลายเครียด เกิดความสดชื่นอีกด้วย
                3. น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารและน้ำดื่มนอกจากจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติมโตแข็งแรงอยูในภาวะปกติแล้ว อาหารและน้ำสมุนไพรบางชนิดที่นิยมรักประทานกันอยู่ในปัจจุบันยังช่วยรักษาโรคและอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้อีกตัว ซึงเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ ที่ได้คิดปรุงแต่งอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าบำรุงร่างกาย โดยผ่านการผสมผสานองค์ความรู้ต่างๆ เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยได้อย่างกลมกลืน เช่น น้ำขิงช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ น้ำใบบัวบกแก้ร้อนใน กระหายน้ำ น้ำมะพร้าวช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ ทำให้สดชื่น ส่วนผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพรไทยที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องแกงในอาหารไทยมีสรรพคุณในการบำรุงรักษาร่างกายได้อย่างดี เช่น ในโหระพารสเผ็ดร้อนแก้เป็นลม วิงเวียน ตะไคร้แก้ปวดท้อง ลดความดันเลือด มะนาวมีรสเปรี้ยวป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันฟักทองมีเบต้าแคโรทีนสูงช่วยบำรุงร่างกาย และมะขามใช้เป็นยาระบาย แก้โรคบิด เป็นต้น
                4.การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิตและความเชื่อ ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของชาวไทยที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมา จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสุขภาพทางใจ เพราะการทำสมาธิสวดมนต์และภาวนาช่วยให้จิตใจที่สับสนและว่าวุ้นเกิดความสงบ มีความสุข ผ่อนคลายความเครียดมีสมาธิและเกิดปัญญา ในปัจจุบันมีการวิจัยทางการแพทย์พบว่า การสวดมนต์ ภาวนา และการทำสมาธิช่วยให้หัวใจทำงานหนักน้อยลง ส่งผลดีต่อปอด ระบบการหายใจ นอกจากนี้การนั่งสมาธินานๆ จะคลายความวิตกกังวล ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างแท้จริง
                5.กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยเกิดขึ้นจากการสิบทอดบอกเล่าต่อ ๆ กันมาของนักบวช นักพรต พระสงฆ์ หรือชาวพุทธที่นิยมนั่งสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งมีความแตกต่างกับท่าโยคะของอินเดีย โดยเป็นท่าที่ไม่ผาดโผน หรือฝืนร่างกายจนเกินไป บุคคลทั่วไปสามารถทำได้ และเมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ช่วยให้การเคลื่อนไหวของแขน ขา หรือข้อต่อต่างๆ เป็นไปอย่างคล่องแคล่ว ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ ผ่อนคลายความเครียด และเพิ่มประสิทธิภาพของการหายใจ



               








วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ชื่อโครงการ โยคะเพื่อสุขภาพ


ชื่อโครงการ โยคะเพื่อสุขภาพ
ผู้จัดทำโครงการ นางสาวสุนิสา  เครือสีดา

1.หลักการและเหตุผล
 จากการที่ได้ทำตารางวิเคราะห์ปัญหาของตัวเอง ก็พบว่ามีปัญหาหลายๆอย่าง และปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้หากเรามีความตั้งใจที่จะแก้ไขมัน เหตุผลที่เลือก การเล่นโยคะ เป็นทางแก้ไขปัญหา เพราะการฝึกโยคะมีผลต่อจิตของกายในทุกๆด้าน เช่น 1) ในด้านร่างกาย โดยผ่อนคลาย รักษา และสร้างความแข็งแรงยืดเส้นยืดสายต่อระบบประสาท กระดูกกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหัวใจ ระบบย่อยอาหาร ต่อมต่างๆในร่างกาย และระบบและระบบประสาท 2) ด้านจิตใจ จะเกิดการสร้างจิตใจที่สงบ ความตื่นตัวและสมาธิผลทางด้านจิตวิญญาณ คือ การเตรียมพร้อมสำหรับกานทำสมาธิ และสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน การฝึกโยคะให้ประโยชน์มากมาย เช่น การฟื้นฟู สมดุลการทรงตัว ความยืดหยุ่น ความแม่นยำ สุขภาพ ร่างกายที่แข็งแรง จนถึงการสร้างความสงบด้านจิตใจ ความสมดุลทางอารมณ์ และความแข็งแรงภายใน หากเรามีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงแล้ว ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเราก็จะเป็นเพียงเรื่องที่เล็กน้อย ที่เราสามารถรับมือกับมัน และจัดการได้อย่างสบายๆ
2.วัตถุประสงค์
1) เพื่อวัดความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายของตนเอง
2) เพื่อทำท่าโยคะให้คล่องตัว ภายใน 15 วัน
3) ฟื้นฟู สมดุลการทรงตัว ความยืดหยุ่น ความแม่นยำ สุขภาพ จนถึงการสร้างความสงบด้านจิตใจ

3.กลุ่มเป้าหมาย
บุคคลทุกเพศทุวัย
4.วิธีดำเนินการ

1) เล่นโยคะวันละ 1-2 ชั่วโมง
2) จดบันทึกต่างๆในแต่ละวัน เพื่อให้รู้ว่าทำท่าที่ครูสอนได้คล่องตัวมากน้อยเพียงใด
3) ตรวจระดับไขมันในเลือดอีกครั้งหลังจาครบกำหนด 20 วัน

5.ระยะเวลาดำเนินการ  15 วัน ตั้งแต่ วันที่ 20 สิงหาคมคม ถึงวันที่ 8 กันยายน 2554
6.สถานที่ดำเนินการ  สวนลุมพินี
7.งบประมาณ  20,000 บาท
8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ทำให้มีสมาธิมากขึ้นกว่าเดิม รู้สึกกระปรี้ประเปร่ามากขึ้น หัวสมองก็โล่ง การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น สุขภาพร่างการแข็งแรง
สริมสร้าง สมดุลการทรงตัว ความยืดหยุ่น ความแม่นยำ และ ความสงบด้านจิตใจ ได้เป็นอย่างดี สามารถนำไปแนะนำ คนรอบข้าง พ่อ แม่ หรือเพื่อนๆ ให้ มาเสริมสร้างสุขภาพด้วยการเล่นโยคะ
9.ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุนิสา     เครือสีดา






วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง ร่างกายของเรา

1.1 ความสำคัญและหลักการของกระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย ได้แก่ รักษาอนามัยส่วนตัว บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม   ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ   ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด ตรวจเช็คร่างกาย
1.2 ระบบประสาท
                ระบบประสาท คือ ระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วน
                1.2.1 องค์ประกอบของระบบประสาท
1. ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
                สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆของระบบประสาท สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
1.     สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย
- ซีรีบรัม มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ไหวพริบ การทำงานของกล้ามเนื้อ การสัมผัส
- ทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทรับความรู้สึก
- ไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด
                2. สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
                3. สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย
- ซีรีบเลลัม ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวของร่ายกาย
- พอนด์ ทำหน้าที่ควบคุมการเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
- เมดัลลา อบบลองกาตา ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาทอัตโนวัติ
สมองส่วนกลาง พอนด์ และ เมดัลลา อบบลองกาตา สมองทั้ง 3 ส่วนรวมกันเรียกว่า ก้านสมอง
                ไขสันหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสมองไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้นและมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มสมอง ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่างๆของร่างกายไปยังสมองและรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย
2.ระบบประสาทส่วนปลาย ทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางไปยังอวัยวะปฏิบัติงานประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง 12 คู่ เส้นประสาทไขสันหลัง 31คู่ และประสาทระบบอัตโนวัติควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจของจิตใจ เช่น การเต้นของหัวใจ
                1.2.2 การทำงานของระบบประสาท จะทำงานประสานกับระบบกล้ามเนื้อ
                1.2.3 การบำรุงรักษาระบบประสาท ได้แก่ ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศรีษะ หลีกเลี่ยงยาชนิดต่างๆที่มีผลต่อสมอง พยายามผ่อนคลายความเครียด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
1.3 ระบบสืบพันธ์
                1.3.1 อวัยวะสืบพันธ์เพศชาย
1. อัณฑะ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ ควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย
2. ถุงหุ้มอันฑะ ทำหน้าทีควบคุมอุณภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิที่เจริญเต็มที่ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังหลอดนำตัวอสุจิ
4. หลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรักโทส
6. ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ
7. ต่อมคาวเปอร์ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นเพศ
            อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง
1. รังไข่ ทำหน้าที่ ผลิตไข่ โดยปกติไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบ เรียกว่า การตกไข่ ตลอดชีวิตจะมีการผลิตไข่ประมาณ 400 ใบ รังไข่ยังทำหน้าที่ สร้างฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโทรเจน ทหน้าที่ ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก และโพรเจสเทอโรน ทำงานร่วมกับเอสโทรเจนในการควบคุมการเจริญของมดลูก
2. ท่อนำไข่ หรือ ปีกมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก
3. มดลูก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4. ช่องคลอด ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก
                การตกไข่ คือ การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน
                การมีประจำเดือน เกิดจากผนังมดลูกลอกตัวเมื่อไข่ได้รับการผสม
            การบำรุงรักษาระบบสืบพันธ์ ได้แก่ ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่สม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำความสะอาดร่างกาย  ไม่สำส่อนทางเพศ
1.4ระบบต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท
          1.4.1 ต่อมไร้ท่อในร่างกาย
1. ต่อมใต้สมอง ประกอบด้วย ต่อมใต้สมองส่วนหน้า และ ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก นอกจากนี้ยังควบคุมการทำงานของ ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ต่อมพาราไทรอยด์
2. ต่อมหมวกไต มี 2 ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลีน ส่วนชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร
3. ต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมน ไทรอกซิน
4. ต่อมพาราไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือด
5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลของร่างกาย
6. ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
                1.4.2 การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ รับประทานให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ อกกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ พักผ่อนให้เพียงพอ